28 พฤษภาคม 2556

ชาวประจวบฯ รับได้ ถ้าสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่กรุงเทพฯ

28 พฤษภาคม 2556

กรณีนายดิเรก ลาวัณย์ศิริ ประธานกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) หรือ เรกูเลเตอร์ อยากให้ทำประชามติเพื่อขอความเห็นจากประชาชนทั้งประเทศในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินนั้น

นางสาวกรณ์อุมา พงษ์น้อย ประธานกลุ่มรักท้องถิ่นบ่อนอก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์กล่าวว่า

การก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ให้มีประสิทธิภาพสูงหลักการคือควรสร้างใกล้ศูนย์กลางพื้นที่ๆ มีการใช้ไฟฟ้าสูง กรณีไฟฟ้าดับภาคใต้กฟผ.บอกชัดเจนว่า สายส่งของกฟผ.มีความอ่อนไหวสูงต่อกรณีฟ้าผ่า ถ้ายิ่งสร้างโรงไฟฟ้าไกลพื้นที่ใช้ไฟฟ้าสูงสายส่งยาวจะยิ่งเสี่ยงสูงต่อไฟฟ้าไดั


ไฟฟ้าสำรองของประเทศปัจจุบันก็กว่า 5,000 เมกกะวัตต์ ภาคใต้มีความต้องการด้านการใช้ไฟฟ้าที่ไม่สามารถพึ่งตนเองได้ แค่ 200 เมกะวัตต์ ส่วนต่างไม่มากไม่ได้เป็นภาระต่อระบบ ปีหน้าโรงไฟฟ้าจะนะผลิตไฟฟ้าเพิ่มได้อีก 800 เมกะวัตต์ จึงไม่ใช่เรื่องใหญ่ในการจัดการ 



ถึงกระนั้นรัฐยังควรสนับสนุนให้มีโครงการการจัดการลดความต้องการใช้ไฟฟ้าในภาคลงได้อีก สั่งการให้กฟผ.เปิดสายส่งรับซื้อโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนให้เต็มศักยภาพและภาคใต้เป็นพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญของประเทศด้านการท่องเที่ยว เกษตร ประมง จึงมีความอ่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมสูงไม่ควรสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน 


หากจะทำประชามติ หัวข้อที่เหมาะสมที่สุดคือ คนทั้งประเทศเห็นด้วยหรือไม่ที่จะสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาดที่กรุงเทพมหานครก่อนอย่างน้อย 4,000 เมกกะวัตต์หรือ 5 โรง และถ้าสามารถพิสูจน์ว่าการบริหารแบบไทยๆ เอาอยู่ในการคุมมลพิษก็ให้สร้างเพิ่มได้อีกและพื้นที่อื่นๆก็น่าจะสบายใจขึ้น

เพราะข้อเท็จจริงกรุงเทพมหานครใช้ไฟฟ้าสูงถึง 8,000 เมกะวัตต์ คิดเป็น 30%ของการใช้ไฟฟ้าโดยรวมของประเทศ และมีความต้องการใช้เพิ่มมากขึ้นทุกปี อนาคตมีโครงการรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอีกมากมายแต่มีโรงไฟฟ้าเป็นของตนเองเพียง 2 โรงคือพระนครเหนือพระนครใต้ กำลังการผลิตรวมแค่ 2,850 เมกะวัตต์รับก๊าซจากพม่า หากพม่าปิดซ่อมท่อก๊าซในฤดูร้อนไม่มีเหลือไฟฟ้าเลย จะหวังพึ่งไฟฟ้าจากสายส่งของ กฟผ.เพียงอย่างเดียวถือว่าเสี่ยงสูงเกินไป เพราะฟ้าผ่าเป็นเรื่องธรรมชาติเราคงห้ามไม่ได


เป็นข้อเท็จจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ว่ากรุงเทพคือแหล่งเศรษฐกิจขนาดใหญ่เป็นหน้าตาของประเทศ เราจะปล่อยให้เสี่ยงไฟฟ้าดับอยู่อย่างนี้ได้อย่างไรกัน เหมาะสมที่จะพิจารณาให้สร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาดก่อนเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของระบบไฟฟ้า กระจายความเสี่ยงของเชื้อเพลิง และเป็นธรรม คือผู้ใช้ไฟฟ้าเยอะต้องรับความเสี่ยงจากมลพิษเยอะตามไปด้ว


หากผลการทำประชามติ ออกมาว่าคนส่วนใหญ่ในประเทศเห็นด้วยให้สร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาดในกรุงเทพ ก็ต้องยอมรับ แบบนี้คงไม่เป็นปัญหา รับได


นางสาวกรณ์อุมายังเสนอด้วยว่า ขอให้เรกูเลเตอร์ทำประชามติแถมไปอีกเรื่องด้วยว่าคนไทยทั้งประเทศเห็นด้วยหรือไม่ ที่จะให้ลดเงินเดือนของเรกูเลเตอร์จาก 350,000 บาท เหลือ 50,000 บาทพอ เพราะเห็นว่า มีผลงานไม่คุ้มเงินเดือน จากกรณีไฟฟ้าดับทั้งภาคใต้ เรกูเลเตอร์มีส่วนต้องรับผิดชอบ เพราะตามที่กฟผ.ชี้แจงกับสื่อคือ กกพ. ไม่ปรับระบบให้ไฟฟ้าดับในวงแคบ ไฟจึงดับทั้งภาคใต้ เป็นต้น 

ผลงานที่ไม่คุ้มค่าเงินเดือนของ กกพ.ยังมีอีกหลายเรื่อง เช่น ไม่กล้าเช็คบิลค่าเสียหายจากบริษัทปตท.เป็นหลักหลายพันล้านกรณีไม่ส่งก๊าซให้โรงไฟฟ้าของกฟผ.ตามสัญญาอย่างซ้ำๆซากๆ แต่ไปอนุมัติขึ้นค่าเอฟทีแทน ดังนั้น เพื่อเห็นแก่ผลประโยชน์ของประเทศชาติและแสดงความรับผิดชอบจริง เรกูเลเตอร์น่าจะขอลดเงินเดือนตัวเองได้เลยโดยไม่ต้องรอทำประชามติ แบบนี้ประชาชนก็รับได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น