(จดหมายข่าวจับตานิวเคลียร์ ฉบับที่ 17, กันยายน-ตุลาคม 2555)
นัก
วิทยาศาสตร์บางส่วนถือว่าพลังงานนิวเคลียร์เป็นเครื่องมือสำคัญที่เราจะใช้
ต่อสู้กับภาวะโลกร้อนได้
จากการที่พลังงานนิวเคลียร์ปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่าพลังงานประเภทอื่น
แต่การมุ่งไปสู่พลังงานนิวเคลียร์ในยุคสมัยที่ภาวะโลกร้อนกำลังสำแดงฤทธิ์
เดชให้เห็นมากขึ้นๆ อยู่นี้ ผลจะเป็นอย่างไร ?
ในช่วง
หลายปีมานี้ ปัญหาภัยแล้ง อากาศที่ร้อนจัดในฤดูร้อน
รวมทั้งการเกิดคลื่นความร้อน
ได้ส่งผลกระทบต่อการเดินเครื่องของเตาปฏิกิกรณ์นิวเคลียร์
รวมทั้งโรงไฟฟ้าพลังความร้อนที่ต้องใช้น้ำหล่อเย็นในยุโรปและสหรัฐหลายครั้ง
ทำให้โรงไฟฟ้าพลังความร้อนจำนวนมากต้องลดกำลังผลิตหรือหยุดเดินเครื่อง
ชั่วคราว
ตัวอย่างเช่น โรงไฟฟ้านิวเคลียร์บราวน์เฟอร์รี่ในอลาบาม่า สหรัฐอเมริกา
ต้องหยุดเดินเครื่อง 2 ครั้งในฤดูร้อนปี 2554
เนื่องจากน้ำในแม่น้ำเทนเนสซี่มีอุณหภูมิสูงเกินกว่าที่จะนำมาใช้ในระบบหล่อ
เย็นได้
18 กรกฎาคม 2555 เตาปฏิกรณ์ 4 เครื่องในนิวยอร์ค
แมรี่แลนด์ เพนซิลวาเนีย และเซาธ์แคโรไลน่า
เกิดการทำงานผิดปรกติและต้องหยุดเดินเครื่องเนื่องจากการเกิดปรากฏการณ์
คลื่นความร้อน
กรณีล่าสุดก็คือ
เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2555 โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไมล์สโตน
ในรัฐคอนเนคติคัตต้องปิดเตาปฏิกรณ์ 1 ใน 2
เครื่องเนื่องจากน้ำทะเลที่ใช้ในระบบหล่อเย็นร้อนเกินไป
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 37 ปีของโรงไฟฟ้าแห่งนี้
การ
ปิดเตาปฏิกรณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไมล์สโตนคือสัญญาณล่าสุดที่แสดงว่าพลังงาน
นิวเคลียร์กำลังเผชิญความยุ่งยากจากปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
แหล่งน้ำสัมพันธ์กับโรงไฟฟ้าอย่างไร ? ฝนแล้งและความร้อนมีผลต่อแหล่งน้ำที่จำเป็นต่อการหล่อเย็นโรงไฟฟ้าใน 3 ทาง กล่าวคือ
หนึ่ง
ระดับน้ำ
โรงไฟฟ้าเกือบทั้งหมดถูกสร้างขึ้นใกล้กับทะเลสาบหรือแม่น้ำเพื่อให้สะดวกต่อ
การสูบน้ำมาหล่อเย็น แต่ถ้าระดับน้ำลดลงต่ำกว่าปากท่อสูบน้ำของโรงไฟฟ้า
ก็ไม่สามารถสูบน้ำได้ ในโรงไฟฟ้าบางโรง ปากท่อสูบน้ำสามารถปรับระดับได้
แต่มันมักจะมีราคาแพงและมีความเสี่ยงที่ท่อแบบนี้จะสูบเอาโคลนตะกอนเข้าไป
ด้วย ซึ่งอาจทำให้โรงไฟฟ้าเกิดความเสียหายได้
สอง
อุญหภูมิ
น้ำในทะเลสาบหรือแม่น้ำอาจใช้ประโยชน์ในการหล่อเย็นไม่ได้หากมีอุณหภูมิสูง
เกินไป อย่างไรก็ตาม น้ำที่ร้อนอาจถูกนำมาใช้ได้
แต่การทำงานของโรงไฟฟ้าก็จะมีประสิทธิภาพน้อยกว่าการใช้น้ำเย็น
ปัญหา
ที่สามที่เกิดจากคลื่นความร้อนก็คือน้ำที่ปล่อยจากโรงไฟฟ้า
หากระดับน้ำที่ต่ำหรือมีอุณหภูมิสูงในทะเลสาบหรือแม่น้ำถูกนำไปใช้ในโรง
ไฟฟ้า
น้ำที่ระบายออกจากโรงไฟฟ้าก็จะมีอุณหภูมิสูงกว่าระดับที่อนุญาตให้ปล่อยออก
สู่แหล่งน้ำภายนอก ซึ่งปัญหานี้เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีกในสหรัฐและยุโรป
หากโรงไฟฟ้าไม่หยุดเดินเครื่องในกรณีเช่นนี้
น้ำร้อนที่ปล่อยออกมาอาจทำให้เกิดการแพร่ขยายของสาหร่าย
ลดการดูดซับอ็อกซิเจนของน้ำและคุกคามสิ่งมีชีวิตในน้ำ ซึ่งในหลายๆ ครั้ง
หน่วยงานควบคุมสิ่งแวดล้อมก็อนุญาตให้โรงไฟฟ้าก่อผลกระทบเหล่านี้ได้
เพื่อแลกกับการไม่มีไฟฟ้าใช้ในกรณีที่ต้องสั่งให้โรงไฟฟ้าหยุดเดินเครื่อง
ใน
ปีนี้ประเทศสหรัฐต้องประสบกับสถานการณ์ภัยแล้งที่หนักหนาสาหัสที่สุดในรอบ
50 ปี โดยต้นเดือนสิงหาคม 2555 ที่ผ่านมา พื้นที่กว่า 62%
ของสหรัฐตกอยู่ในภาวะภัยแล้ง
และโชคร้ายตรงที่ภัยแล้งและสภาพอากาศที่ร้อนผิดปรกติส่วนมากเกิดขึ้นในเขต
ที่ต้องพึ่งพาพลังงานไฟฟ้าจากนิวเคลียร์ นั่นคือ
พื้นที่ตอนเหนือของเขตมิดเวสต์ และภาคตะวันออกเฉียงใต้ของนิวอิงแลนด์
เตา
ปฏิกรณ์นิวเคลียร์ทั้งหมด 104 เครื่องในสหรัฐ
เมื่อเดินเครื่องเต็มกำลังจะสามารถผลิตไฟฟ้าได้ 20% ของที่ใช้ทั้งประเทศ
โรงไฟฟ้าเหล่านี้ต้องใช้น้ำ และโดยส่วนใหญ่แล้วจะต้องใช้น้ำสะอาด
แต่สำหรับฤดูร้อนปีนี้
ในสหรัฐไม่มีน้ำสะอาดมากพอที่จะให้ทุกภาคส่วนใช้ได้อย่างทั่วถึง
โรง
ไฟฟ้าในสหรัฐที่ใช้ความร้อนผลิตไอน้ำเพื่อปั่นกระแสไฟ(โรงไฟฟ้าเชื้อเพลิง
ฟอสซิลและนิวเคลียร์) คือแหล่งพลังงานไฟฟ้ามากกว่า 90% ของประเทศ
โรงไฟฟ้าเหล่านี้ใช้น้ำสะอาดมากถึง 40%
ของปริมาณน้ำอุปโภคบริโภคที่ใช้ทั้งประเทศ ส่วนที่ยุโรป
โรงไฟฟ้าประเภทนี้เป็นแหล่งผลิตกระแสไฟฟ้าปริมาณ 3 ใน 4 ที่ใช้อยู่
และใช้น้ำประมาณครึ่งหนึ่งของน้ำอุปโภคบริโภคทั้งหมดในยุโรป
โดยที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ถือเป็นโรงไฟฟ้าประเภทที่ต้องใช้น้ำปริมาณมาก
ที่สุดในบรรดาโรงไฟฟ้าทั้งหลาย
คำถามสำหรับอนาคตก็คือ
จะต้องมีการบริหารจัดการน้ำสะอาดอย่างไรท่ามกลางโลกในอนาคตที่ต้องเผชิญกับ
ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ
ซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยที่ปัญหาการแย่งชิงน้ำจะเกิดมากขึ้นจากการเติบโตของ
จำนวนประชากร การเกษตร และภาคพลังงาน
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์
ที่ใช้น้ำทะเลในการหล่อเย็นอาจไม่มีปัญหาในด้านการแย่งชิงน้ำกับใคร
แต่กรณีของโรงไฟฟ้าไมล์สโตนที่ต้องหยุดเดินเครื่องเมื่อไม่นานมานี้
เพราะน้ำทะเลมีอุณหภูมิสูงเกินไป ก็เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่า
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ตั้งอยู่ริมทะเลก็ไม่ใช่ข้อยกเว้นจากปัญหาการขาดแคลน
น้ำหล่อเย็นอันสืบเนื่องมาจากภาวะโลกร้อน
เดวิด คราฟท์
ผู้อำนวยการศูนย์บริการข้อมูลพลังงานนิวเคลียร์ (NEIS)
ซึ่งเป็นกลุ่มรณรงค์คัดค้านพลังงานนิวเคลียร์ในอิลินอยส์ กล่าวว่า
“ปัญหานี้เกิดขึ้นมาหลายครั้งแล้วในอดีต” และ “ในโลกที่ภูมิอากาศแปรปรวน
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไม่ใช่สิ่งที่เราจะเชื่อถือได้”
เมื่อ
ปลายเดือนกรกฎาคม 2555 การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์ของสหรัฐลดลงถึง
93% ของกำลังผลิตที่มีอยู่ ซึ่งสาเหตุไม่ใด้มาจากปัญหาสภาพอากาศทั้งหมด
แต่ตัวอย่างบางกรณีคือ
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เวอร์มอนต์แยง
กี้ ลดกำลังผลิต 4 ครั้งในเดือนกรกฎาคม
เนื่องจากน้ำในแม่น้ำลดระดับและมีอุณหภูมิสูง ทำให้ต้องลดกำลังผลิตลงถึง
83%
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เพอร์รี ในรัฐโอไฮโอลดการผลิตไฟฟ้าลง 95% ของกำลังผลิต เนื่องจากอากาศที่ร้อนเกินไป
โรง
ไฟฟ้านิวเคลียร์แบรดวูด ในรัฐอิลินอยส์
ได้รับอนุญาตจากสำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมสหรัฐ
ให้สามารถปล่อยน้ำหล่อเย็นที่มีอุญหภูมิสูงกว่าที่กฎหมายกำหนดได้
ซึ่งหากไม่ได้รับอนุญาตดังกล่าว โรงไฟฟ้าจะต้องลดกำลังผลิต
เพราะปัญหาจากการเผชิญกับคลื่นความร้อน
คราฟท์กล่าวว่า
ปัญหาของการเดินเครื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เกิดขึ้นซ้ำๆ อย่างเป็นแบบแผน
เขาสรุปว่า
“นี่คือสัญญาณเตือนที่บอกเราว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มีจุดอ่อนในโลกที่สภาพ
ภูมิอากาศแปรปรวน”
หากมองย้อนไปก่อนหน้านั้น กรณีตัวอย่างที่เกิดขึ้นยังมีอีกมาก อาทิเช่น
ฤดู
ร้อนในยุโรปปี 2546 ซึ่งมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 30,000 คนจากคลื่นความร้อน
ประเทศฝรั่งเศส
เยอรมันและสเปนต้องตัดสินใจเลือกระหว่างการอนุญาตให้เตาปฏิกรณ์ปล่อยน้ำหล่อ
เย็นที่ร้อนกว่าข้อกำหนด หรือการหยุดเดินเครื่องเตาปฏิกรณ์
สเปนเลือกที่จะปิดเตาปฏิกรณ์
ส่วนฝรั่งเศสและเยอรมันตัดสินใจอนุญาตให้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์บางส่วนปล่อยน้ำ
ร้อนเกินค่ามาตรฐาน และบางส่วนให้หยุดเดินเครื่อง
ฤดูร้อน
ปี 2547 ที่รัฐอิลินอยส์ สหรัฐอเมริกา
สำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมสหรัฐและหน่วยงานรัฐท้องถิ่นเตรียมที่จะผ่อนผัน
มาตรการควบคุมการปล่อยน้ำหล่อเย็นของโรงไฟฟ้าเนื่องจากปัญหาภัยแล้ง
แต่สถานการณ์ภัยแล้งได้คลี่คลายไปเสียก่อน
29 กรกฎาคม - 2
สิงหาคม 2549 ที่รัฐอิลินอยส์ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 4
แห่งต้องลดกำลังผลิตลงกว่าครึ่งเพื่อควบคุมอุณหภูมิของน้ำหล่อเย็นที่ปล่อย
ออกมาให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด
30 กรกฎาคม 2549
ที่รัฐมิชิแกน โรงไฟฟ้านิวเคลียร์โดแนลด์ ซี ค็อค
ต้องปิดเตาปฏิกรณ์ในระหว่างเผชิญกับคลื่นความร้อน
เนื่องจากอุณหภูมิในเครื่องปฏิกรณ์พุ่งสูงเกินกว่าระดับที่กำหนด
5-12
สิงหาคม 2551 ภาคตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐ บริษัทไฟฟ้า TVA
ต้องสูญเสียกำลังผลิตของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จำนวน 1 ใน 3
ของบริษัทด้วยภาวะภัยแล้ง
เดือนกรกฎาคม 2552
ประเทศฝรั่งเศสต้องนำเข้าไฟฟ้าจากประเทศอังกฤษ
เนื่องจากกำลังผลิตของพลังงานนิวเคลียร์ประมาณ 1 ใน 3
ของประเทศไม่สามารถใช้การได้เนื่องจากอุณหภูมิที่สูงของแหล่งน้ำหล่อเย็น
เดือน
กรกฎาคม 2554 ภาคตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐ บริษัทไฟฟ้า TVA
ลดกำลังผลิตของโรงไฟฟ้าบราวน์เฟอร์รี่ลงครึ่งหนึ่งเพื่อหลีกเลี่ยงการปล่อย
น้ำหล่อเย็นที่มีอุณหภูมิสูงเกินมาตรฐาน
“เรื่องนี้เป็น
ปัญหามานานปี และมีแต่จะเลวร้ายลงเรื่อยๆ” เวนดี้ วิลสัน
ผู้อำนวยการฝ่ายแม่น้ำ พลังงาน และภูมิอากาศของ River Network
เครือข่ายรณรงค์ปกป้องแหล่งน้ำสะอาดในสหรัฐกล่าว
“มันเป็นปัญหาที่แย่มากขึ้นทุกครั้งที่เกิดภาวะฝนแล้ง
เรามีปัญหาที่น่ากลัวเกี่ยวกับมลพิษทางอุณหภูมิในประเทศของเรา”
ดูเหมือนมีสัญญาณที่แสดงให้เห็นว่าปัญหาเช่นนี้จะเกิดมากขึ้นในอนาคต
ใน
งานวิจัยของนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา เดนนิส
เล็ทเทนไมเออร์ ที่เผยแพร่ในเดือนมิถุนายน 2555 ที่ผ่านมา ระบุว่า
ในระหว่างปี 2031-2060
น้ำที่ร้อนมากขึ้นและไหลช้าลงของแม่น้ำจะทำให้โรงไฟฟ้าต่างๆ
ประสบความยุ่งยากมากขึ้น โดยเขาพยากรณ์ว่า ในช่วงปี 2031-2060
โรงไฟฟ้าที่ต้องใช้น้ำหล่อเย็นทั้งหลายในสหรัฐจะถูกลดกำลังผลิตลง 4-16% และ
6-19% สำหรับโรงไฟฟ้าพลังความร้อนในยุโรป เนื่องจากการขาดแคลนน้ำหล่อเย็น
สำหรับ
กับโรงไฟฟ้า
ปริมาณน้ำที่น้อยลงและร้อนมากขึ้นจากอากาศร้อนอันเป็นผลมาจากภาวะโลกร้อน
อาจหมายถึงราคาค่าไฟที่แพงขึ้นและความมั่นคงของระบบไฟฟ้าที่น้อยลง
และความน่าเป็นห่วงของระบบนิเวศน์แหล่งน้ำที่จะได้รับผลกระทบจากการปล่อยน้ำ
หล่อเย็นที่ร้อนมากขึ้น
รายงานซึ่งได้รับการสนับสนุนการ
ดำเนินการจากคณะกรรมาธิการยุโรปชิ้นนี้เสนอว่า
ภาคพลังงานควรเริ่มต้นพิจารณาถึงยุทธศาสตร์การปรับตัวเพื่อลดการพึ่งพาโรง
ไฟฟ้าประเภทที่ต้องใช้น้ำในการหล่อเย็นได้แล้ว
ดูเหมือน
ว่าคำตอบสำหรับเรื่องนี้
หนีไม่พ้นที่เราคงต้องฝากความหวังไว้ที่พลังงานหมุนเวียน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งพลังงานลมและแสงอาทิตย์ซึ่งไม่ต้องใช้น้ำในการผลิตไฟฟ้า
นอกจากนี้ อีกแนวทางหนึ่งที่กำลังพัฒนากันอยู่ก็คือ
ระบบหล่อเย็นของโรงไฟฟ้าที่ใช้อากาศหรือแก๊สเป็นตัวระบายความร้อน
ซึ่งคงอีกนานกว่าที่จะเป็นจริงได้ในเชิงพานิชย์
สรุปแล้ว
ที่กล่าวกันว่าพลังงานนิวเคลียร์จะเป็นคำตอบของความมั่นคงพลังงานในยุคโลก
ร้อนนั้น สิ่งที่กำลังปรากฎก็คือ
ผลของภาวะโลกร้อนในวันนี้กำลังทำให้พลังงานนิวเคลียร์ไม่น่าเชื่อถือใน
“ความมั่นคง” ของมันมากขึ้นเรื่อยๆ
ที่มา
Extreme Heat & Drought Show Vulnerability of Nuclear Power Plants, http://insideclimatenews.org
Nuclear and coal-fired electrical plants vulnerable to climate change, http://www.washington.edu
Heat Wave Stresses US Electricity Grid, http://my.firedoglake.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น