14 กุมภาพันธ์ 2556

นักวิจัยระบุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 23 แห่งเสี่ยงเผชิญคลื่นยักษ์สึนามิ

วินาทีที่คลื่นสึนามิโถมเข้าใส่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ
(จดหมายข่าวจับตานิวเคลียร์ ฉบับที่ 17, กันยายน-ตุลาคม 2555)

กันยายน 2555, มูลนิธิเพื่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Foundation for Science and Tecnology) ในประเทศสเปนได้เผยแพร่งานศึกษาที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร “Natural Hazards” ระบุว่า โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั่วโลก 23 แห่งซึ่งมีเตาปฏิกรณ์รวมทั้งสิ้น 74 เครื่อง ตั้งอยู่ในบริเวณที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเผชิญกับคลื่นยักษ์สินามิ นับเป็นครั้งแรกหลังจากอุบัติเหตุนิวเคลียร์ฟูกูชิมะเมื่อเดือนมีนาคม 2554 ที่ทีมนักวิทยาศาสตร์ได้ทำการสำรวจวิเคราะห์ให้ทราบถึงสถานที่ตั้งของโรง ไฟฟ้านิวเคลียร์ทั่วโลกที่อยู่ในบริเวณที่มีโอกาสจะเผชิญกับสึนามิ โดยความสำคัญของเรื่องนี้นั้น ศาสตราจารย์โรดริเกส วิดอล หัวหน้าคณะวิจัยจากภาควิชา Geodynamics and Paleontology มหาวิทยาลัย Huelva ในประเทศสเปนกล่าวว่า “ทำเลที่ตั้งของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไม่ได้เกี่ยวข้องเฉพาะกับประเทศผู้เป็น เจ้าของเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับประเทศอื่นๆ ที่อาจได้รับผลกระทบจากการรั่วไหลของรังสีด้วย”

การเกิดสึนามิถือเป็นเรื่องยากที่จะทำนายได้
และยิ่งสึนามิที่มีศักยภาพจะทำให้เกิดหายนะภัยทางนิวเคลียร์ได้ด้วย แล้ว ยิ่งยากที่นักวิทยาศาสตร์จะคาดการณ์ได้มากขึ้นไปอีกแต่ทีมนักวิทยาศาสตร์ ก็ได้พยายามประมวลข้อมูลต่างๆ เพื่อที่จะกำหนดพื้นที่ที่มีโอกาสจะเกิดอันตรายได้จากการมีโรงไฟฟ้า นิวเคลียร์ตั้งอยู่ โดยคณะวิจัยได้วาดภาพแผนที่เขตภูมิศาสตร์ของโลกที่มีความเสี่ยงสูงต่อการ เกิดสึนามิ และสำรวจที่ตั้งของโรงไฟ้านิวเคลียร์ที่มีอยู่ทั่วโลกซึ่งมีเตาปฏิกรณ์ที่ กำลังใช้งานอยู่กว่า 440 เครื่อง และกำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้างอีก 62 เครื่อง เพื่อกำหนด “เขตพื้นที่อันตราย” ที่มีโอกาศเกิดหายนะภัยนิวเคลียร์จากสึนามิ

สิ่งที่ค้นพบ ก็คือ มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั่วโลก 23 แห่งรวมจำนวนเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ทั้งสิ้น 74 เครื่องที่ตั้งอยู่ในเขตเสี่ยงภัยสึนามิ ในจำนวนนี้ มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 13 โรงซึ่งมีเตาปฏิกรณ์รวม 29 เครื่องที่กำลังเดินเครื่องอยู่ ส่วนอีก 4 โรงมีเตาปฏิกรณ์ที่เดินเครื่องอยู่รวม 20 เครื่อง และกำลังอยู่ระหว่างก่อสร้างเตาปฏิกรณ์ใหม่เพิ่มอีก 9 เครื่อง นอกจากนี้ ยังมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งใหม่ๆ ที่กำลังก่อสร้างอยู่อีก 7 โรงซึ่งมีเตาปฏิกรณ์ใหม่ที่กำลังก่อสร้างอยู่รวมจำนวน 16 เครื่อง

พื้นที่ เสี่ยงภัย นิวเคลียร์จากคลื่นยักษ์สึนามิเหล่านี้ครอบคลุมชายฝั่งด้านตะวันตกเกือบ ทั้งหมดของสหรัฐอเมริกา ชายฝั่งทะเลของอัฟริกาเหนือ ชายฝั่งแอตแลนติคของสเปนและโปรตุเกส ชายฝั่งทะเลเมดิเตอเรเนียนตะวันออก ส่วนในทวีปเอเชียซึ่งงานวิจัยนี้ได้ระบุว่าเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง ที่สุดจากการที่มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ตั้งอยู่ในเขตเสี่ยงภัยสึนามิ ก็คือ เขตเอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ขณะนี้ ประเทศจีน กำลังลงทุนจำนวนมหาศาลในโครงการนิวเคลียร์ โดยเราจะเห็นได้จากเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่กำลังก่อสร้างอยู่ทั่วโลกขณะนี้ ที่มีจำนวน 64 เครื่องนั้น มีจำนวนถึง 27 เครื่องที่กำลังก่อสร้างอยู่ในประเทศจีน ซึ่งคณะนักวิจัยผู้ศึกษารายงานฉบับนี้กล่าวว่า “ข้อเท็จจริงที่สำคัญมากก็คือ เตาปฏิกรณ์ที่กำลังก่อสร้างอยู่ในประเทศจีน 27 เครื่องนี้ มีถึง 19 เครื่อง (2 เครื่องอยู่ในประเทศไต้หวัน) ที่กำลังก่อสร้างอยู่ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 6 โรงซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณที่ถูกจัดว่ามีอันตรายจากคลื่นยักษ์สึนามิ”

ที่ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อยู่ 17 โรง รวมเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ทั้งสิ้น 54 เครื่อง ในจำนวนนี้มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 7 โรง (เตาปฏิกรณ์ รวมทั้งสิ้น 19 เครื่อง) ที่มีความเสี่ยง(รวมทั้งโรงไฟฟ้าฟูกูชิมะ ไดอิจิ) โดยหนึ่งโรงในจำนวนนี้กำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้าง

เกาหลีใต้ มีโรง ไฟฟ้านิวเคลียร์ 2 แห่งที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยสึนามิ ซึ่งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 2 โรงนี้กำลังก่อสร้างเตาปฏิกรณ์เครื่องใหม่เพิ่มอีกรวม 5 เครื่อง ส่วนอินเดียมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ตั้งอยู่ในจุดเสี่ยงสึนามิ 1 โรง (เตาปฏิกรณ์ 2 เครื่อง) และยังมีที่ปากีสถานอีก 1 โรง (เตาปฏิกรณ์ 1 เครื่อง)

จากรายงานนี้ เราควรเรียนรู้บทเรียนจากอุบัติเหตุนิวเคลียร์ฟูกูชิมะ รวมทั้งจากแผ่นดินไหวใต้ทะเลเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ที่มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่สุมาตรา อินโดนีเซีย ซึ่งก่อคลื่นยักษ์สึนามิที่ทำลายล้างชีวิตผู้คนมากกว่า 230,000 คน ใน 14 ประเทศ

คณะนักวิจัยชุดนี้ มีความเห็นว่า การป้องกันและการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ก่อนหน้านี้คือเครื่องมือที่ดีที่สุด ที่จะใช้เพื่อหลีกเลี่ยงหายนะ แต่อย่างไรก็ตาม ณ ขณะนี้ พวกเขายังคงเห็นว่า “นับแต่เกิดเหตุสึนามิเมื่อปี 2547 ประเทศแถบมหาสมุทรอินเดียก็ยังไม่ได้ดำเนินการทางการเมืองใดๆ ที่มีประสิทธิภาพเพื่อรับมือกับปัญหานี้”

สำหรับโรงไฟฟ้า นิวเคลียร์ ศาตราจารย์โรดริเกสเสนอให้มีการวิเคราะห์ในระดับพื้นที่ให้มากขึ้นเกี่ยวกับ การขยายตัวของแนวแผ่นดินไหว เพื่อเสริมระบบป้องกันสึนามึของโรงไฟฟ้าให้แข็งแรงมากขึ้น

สิ่ง ที่พึงสังวรก็ คือ อุบัติเหตุฟูกูชิมะเกิดขึ้นในประเทศที่ก้าวหน้ามาก และเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่สูงที่สุดในโลก “ถ้ามันเกิดขึ้นในประเทศที่ขาดเครื่องมือในการรับมือกับผลของภัยพิบัติ ผลกระทบที่เกิดขึ้นจะหนักหนาสาหัสกว่านี้” คือเสียงเตือนจากรายงานชิ้นนี้

จาก http://www.homelandsecuritynewswire.com/dr20120924-seventyfour-nuclear-reactors-in-tsunamirisk-areas
http://ens-newswire.com/2012/09/24/23-nuclear-power-plants-at-high-risk-of-tsunami-2

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น