Pages

2 กุมภาพันธ์ 2556

คุยกับ “ปรีชา การสุทธิ์” อุปนายกสมาคมนิวเคลียร์แห่งประเทศไทย

เว็บไซต์ Thaiclimate.org ได้สัมภาษณ์ “ปรีชา การสุทธิ์” อุปนายกสมาคมนิวเคลียร์แห่งประเทศไทย เผยแพร่เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2550 ทัศนะของนักวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์อาวุโสท่านนี้ ช่างน่าทึ่ง (และอึ้ง) เป็นอย่างยิ่ง ดังนี้...

ถาม : เราจะจัดการกับเชื้อเพลิงใช้แล้วยังไง

ตอบ : ก็เก็บไว้ในโรงไฟฟ้า แช่ไว้ในน้ำ 3-5 ปี แล้วเราก็เอาขึ้นจากน้ำ มันยังเป็นแท่งเชื้อเพลิงอยู่ แล้วมันมีเหล็กหุ้ม ถ้าเราแช่ ไว้ในน้ำตลอดเวลาเป็นปีๆ มันก็จะมีสนิมใช่ไหม เราก็ต้องเอามันขึ้นมาเก็บในที่แห้ง และความที่มันยังมีรังสีอยู่ เราก็ต้องหาทางไม่ให้รังสีมันออกมา
ต้องเอามาใส่ถังหล่อเป็นแท่งๆ แบบนี้ (โชว์ภาพถังคอนกรีตเก็บเชื้อเพลิงใช้แล้วในต่างประเทศ) ในถังก็ต้องมีก๊าซหล่อเลี้ยงไว้แล้วก็มีฮีเลี่ยมอีกทีหนึ่ง เห็นไหมว่าเราป้องกันหลายชั้น แล้วไอ้แท่งๆ ถังปูนนั่น ถ้าเอามือไปจับมันก็ยังอุ่นๆ อยู่ เราก็เก็บมันไว้อย่างนี้ในโรงไฟฟ้า

ถาม : อายุมันกี่ปีที่จะต้องเก็บไว้

ตอบ : ก็เก็บไว้เท่าอายุโรงไฟฟ้านั่นแหละ 40-50 ปีก็เก็บไป ถ้ามีการใช้งานไปเรื่อยๆ มีโรงไฟฟ้าเยอะขึ้นเราก็ไปหาที่เก็บใหม่



ถาม : หมายถึงว่าอายุของรังสีที่อยู่ในเชื้อเพลิงใช้แล้ว เคยได้ยินมาว่าครึ่งชีวิตมันเป็นหมื่นๆ ปี เราอาจต้องเก็บถังเชื้อเพลิง ใช้แล้วเป็นแท่งๆ นั่นนานเป็นหมื่นปีใช่หรือไม่

ตอบ : ก็เก็บไป บอกแล้วว่าเก็บเท่าอายุโรงไฟฟ้า ถ้าไม่พอเก็บก็หาที่เก็บใหม่



ถาม : เคยได้ยินเรื่องครึ่งชีวิตของเชื้อเพลิงนิวเคลียร์มาว่าเป็นหมื่นหรืออาจเป็นแสนปี ไม่ทราบว่าเป็นข้อมูลที่เป็นจริงหรือไม่ อยากให้อาจารย์ช่วยอธิบาย

ตอบ : คุณจะไปสนใจทำไม ก็ในเมื่อข้างในมันยังมีเชื้อเพลิงหลงเหลืออยู่และเราก็ยังไม่รู้ว่ามันอาจจะเอากลับมาใช้ได้อีก ก็เก็บมันไว้สิ



ถาม : เราต้องเก็บแท่งถังเชื้อเพลิงใช้แล้วกี่ปีถึงจะทุบมันทิ้งได้

ตอบ : คุณจะไปทุบมันทิ้งทำไม คุณไม่เห็นหรือเสาอาคารโบราณในกรีก โรมัน สร้างมาตั้งกี่ร้อยปี ผมยังไม่เห็นมีใครจะ ไปทุบมันทิ้งเลย



ถาม : อาจารย์เทียบแบบนั้นได้อย่างไร นั่นมันเรื่องของศิลปวัฒนธรรม แต่นี่มันไม่ใช่ แบบนี้หมายความว่าเรายังไม่มี เทคโนโลยีที่ชัดเจนในการจัดการกับเชื้อเพลิงใช้แล้วใช่ไหม

ตอบ: (ไม่ตอบ)

..........

ถาม : มีการแซวกันว่านักวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์ในประเทศไทย พยายามให้มีการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โดยเฉพาะนัก วิทยาศาสตร์นิวเคลียร์รุ่นแรกๆ อย่างอาจารย์ เพราะอยากเติมเต็มความฝันในการเรียนนิวเคลียร์ และอยากหางานทำ

ตอบ : โอ้ย อะไร ถึงไม่มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ผมก็มีงานทำ นี่ผมเกษียณแล้วมาทำนี่เพราะรัฐบาลขอให้มาช่วยหรอกนะ ผมไม่ อยากจะให้เด็กในอนาคตมันมาตั้งคำถามว่านักวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์รุ่นนี้ทำอะไรกันอยู่ถึงไม่ยอมสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ตอนนี้ เหมือนที่ผมอยากถามนักนิวเคลียร์เมื่อ 30 กว่าปีก่อนว่าทำอะไรกันอยู่ตอนนั้นถึงไม่ยอมสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

ถาม : ความฝันหรือสิ่งที่ท้าทายที่สุดของคนที่มาเรียนวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์คืออะไร

ตอบ : ก็สร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไง...!!!

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น