Pages

14 กุมภาพันธ์ 2556

ลำดับเหตุการณ์ วิกฤตการณ์นิวเคลียร์ฟูกูชิมะ

(จดหมายข่าวจับตานิวเคลียร์ ฉบับที่ 12, มีนาคม-พฤษภาคม 2554)

11 มีนาคม 2554
เวลา 14:46 น. แผ่นดินไหวขนาด 9.0 ริกเตอร์เขย่าภาคตะวันออกของเกาะญี่ปุ่น เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 11 เครื่องของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 4 แห่งหยุดเดินเครื่องอัตโนมัติ ไม่ถึง 1 ชั่วโมงต่อมา คลื่นยักษ์สึนามิสูง 14 เมตรโถมเข้าสู่ชายฝั่ง สายส่งไฟฟ้าถูกตัดขาด โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ไดอิจิ เกิดขัดข้องที่ระบบหล่อเย็นฉุกเฉิน จนต้องระบายแก๊สปนรังสีออกจากถังปฏิกรณ์ พื่อป้องกันเตาปฏิกรณ์ระเบิด รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศภาวะฉุกเฉินทางรังสี และอพยพประชาชนในรัศมี 10 ก.ม. จากโรงไฟฟ้าฟูกูชิมะ ไดอิจิ

12 มีนาคม 2554
เวลา 05:50 น. เจ้าหน้าที่ทำการฉีดน้ำเข้าไปในเตาปฏิกรณ์หมายเลข 1 เพื่อระบายความร้อน ในขณะที่แท่งเชื้อเพลิงเริ่มหลอมละลาย ส่วนที่เตาปฏิกรณ์หมายเลข 2 และ 3 ความร้อนพุ่งสูงขึ้นมากจากระบบหล่อเย็นที่ขัดข้องเช่นกัน
เวลา 15.30 น. อาคารปฏิกรณ์หมายเลข 1 เกิดการระเบิดจากแก๊สไฮโดรเจน หลังคาและผนังส่วนบนของอาคารปฏิกรณ์พังทลาย พนักงาน 4 คนได้รับบาดเจ็บ

บริษัท เท็ปโกตัดสินใจใช้น้ำทะเลฉีดเข้าไปในแกน ปฏิกรณ์หมายเลข 1 เพื่อระบายความร้อน รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศขยายเขตอพยพประชาชนเป็น 20 ก.ม.

13 มีนาคม 2554
แท่ง เชื้อเพลิงในเตาปฏิกรณ์หมายเลข 3 เกิดการหลอมละลาย ต้องฉีดน้ำทะเลเข้าสู่แกนปฏิกรณ์เพื่อระบายความร้อนเช่นกัน แก๊สปนเปื้อนรังสีถูกปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อมจากเตาปฏิกรณ์หมายเลข 1 และ 3 ซึ่งเจ้าหน้าที่กล่าวว่า “ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายในทันที”

14 มีนาคม 2554
เวลา 11:01 น. เตาปฏิกรณ์หมายเลข 3 เกิดระเบิดขึ้นในลักษณะเดียวกันกับหมายเลข 1 ทำให้อาคารปฏิกรณ์เสียหายยับเยิน มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 6 คน และแรงระเบิดได้สร้างความเสียหายแก่ระบบน้ำหล่อเย็นเสริมของเตาปฏิกรณ์ หมายเลข 2 รัฐบาลประกาศให้ประชาชนในรัศมี 20 กม.ที่ยังไม่ได้อพยพออกมา ให้อยู่แต่ในอาคารเท่านั้น

15 มีนาคม 2554
เวลา 06:10 น. เกิดระเบิดขึ้นที่ส่วนล่างของเตาปฏิกรณ์หมายเลข 2 ทำความเสียหายแก่ “suppression chamber” ซึ่งเป็นส่วนประกอบของระบบหล่อเย็นแกนปฏิกรณ์ที่ทำหน้าที่ป้องกันการรั่วไหล ของรังสี

เวลา 09:40 น. เกิดไฟไหม้และการระเบิดของแก๊สไฮโดเจนขึ้นที่บ่อแช่แท่งเชื้อเพลิงใช้แล้ว ของเตาปฏิกรณ์หมายเลข 4 ส่วนเตาปฏิกรณ์หมายเลข 5 และ 6 บ่อแช่แท่งเชื้อเพลิงใช้แล้วก็มีอุณหภูมิสูงขึ้นเช่นกัน เตาปฏิกรณ์หมายเลข4-6 อยู่ในระหว่างปิดซ่อมบำรุงในขณะที่เกิดแผ่นดินไหว โดยเตาปฏิกรณ์หมายเลข 4 ไม่มีเชื้อเพลิงอยู่ในแกนปฏิกรณ์

ทบวง การปรมาณูระหว่างประเทศแถลงโรงไฟฟ้าฟูกูชิมะแผ่กัมมันตภาพรังสีออกสู่ บรรยากาศราว 400 มิลลิซีเวิร์ตต่อชั่วโมง (ปริมาณรังสีที่บุคคลทั่วไปสามารถรับได้คือ ไม่เกิน 1 มิลลิซีเวิร์ตต่อปี) รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศเตือนว่าระดับกัมมันตรังสีบริเวณใกล้กับโรงไฟฟ้าฟูกูชิ มะเป็นอันตรายต่อมนุษย์ และให้ประชาชนที่อยู่ในระยะรัศมี 20-30 กม.อยู่แต่ในบ้าน ในเมืองฟูกูชิมะห่างจากโรงไฟฟ้าราว 20 กิโลเมตรระดับรังสีสูงถึง 195-330 ไมโครซีเวิร์ตต่อชั่วโมง ซึ่งสูงกว่าระดับตามธรรมชาติถึง 6,600 เท่า และที่กรุงโตเกียวซึ่งอยู่ห่างออกไป 250 ก.ม. มีการตรวจพบระดับกัมมันตภาพรังสีที่สูงกว่าปกติ แต่ยังไม่ถึงขึ้นเป็นอันตราย

กระทรวงคมนาคมญี่ปุ่นประกาศ เขตห้ามบินในรัศมี 30 กิโลเมตรรอบโรงไฟฟ้าฟูกูชิมะ ส่วนบริษัทเท็ปโกสั่งอพยพคนงานโรงไฟฟ้าฟูกูชิมะ 740 คนออกจากพื้นที่ เหลือไว้แต่พนักงานที่จำเป็นจำนวน 50 คน

16 มีนาคม 2554
เกิด ไฟลุกไหม้ขึ้นอีกที่เตาปฏิกรณ์หมายเลข 4 โฆษกบริษัทเท็ปโกแถลงว่า ในสภาพดังกล่าว มีความเป็นไปได้ที่แท่งเชื้อเพลิงใช้แล้วจะเกิดปฏิกริยาฟิชชันขึ้นใหม่ เกิดกลุ่มควันสีขาวพุ่งขึ้นจากเตาปฏิกรณ์หมายเลข 3 ที่ระเบิดไปเมื่อ 3 วันก่อน ซึ่งบ่งชี้ว่า ตัวถังเตาปฏิกรณ์หมายเลข 3 น่าจะเกิดความเสียหาย จากเดิมที่บริษัทเท็ปโกระบุว่า ตัวถังเตาปฏิกรณ์หมายเลข 3 ไม่มีความเสียหายใดๆ

ระดับรังสีในบริเวณโรงไฟฟ้าสูงขึ้นถึง 1,000 มิลลิซีเวิร์ต ทำให้ต้องอพยพคนงานทั้งหมดออกจากโรงไฟฟ้าชั่วคราว

17 มีนาคม 2554
กอง กำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นใช้เฮลิคอปเตอร์ตักน้ำทะเลหลายตันไปเทใส่บ่อแช่ แท่งเชื้อเพลิงใช้แล้วของเตาปฏิกรณ์หมายเลข 3 และ 4 ที่กำลังเดือด แต่ระดับรังสีเหนือเตาปฏิกรณ์เข้มข้นสูงมากจนต้องหยุดปฏิบัติการ เพียงใช้รถฉีดน้ำปราบจลาจลฉีดน้ำเข้าไปที่อาคารปฏิกรณ์เพื่อระบายความร้อน ความพยายามอีกด้านคือการต่อสายไฟฟ้าจากภายนอกไปเชื่อมกับปั๊มน้ำระบบหล่อ เย็นให้ทำงาน ซึ่งเป็นไปด้วยความยากลำบากและกินเวลาหลายวัน เพราะบริเวณดังกล่าวเต็มไปด้วยรังสีระดับเข้มข้น

สหรัฐฯ เกาหลีใต้ และออสเตรเลีย ประกาศเตือนประชาชนของตนที่ยังอยู่ในญี่ปุ่นให้ออกนอกรัศมี 80 กม. จากโรงไฟฟ้าฟูกูชิมะ ส่วนเยอรมันสั่งย้ายสถานทูตออกจากโตเกียวไปยังโอซากา

23 มีนาคม 2554 เกษตรกรในหมู่บ้านอิตาเตะ
จ.ฟูกูชิมะ เทน้ำนมวัวปนเปื้อนรังสีทิ้งในไร่ข้าวโพด
สัปดาห์ที่ 2 (18-24 มีนาคม 2554)
รัฐบาลยกระดับความรุนแรงของอุบัติเหตุจากระดับ 5 เป็นระดับ 7 เทียบเท่าอุบัติเหตุเชอร์โนบิล เมื่อปี 2529

มี การตรวจพบการปนเปื้อนรังสีในน้ำนมและผักโขมในบริวเณห่างจากโรงไฟฟ้าฟุกูชิมะ 90 กิโลเมตร นอกจากนี้ยังมีการตรวจพบสารรังสี ไอโอดีน 131 และซีเซียม 137 ในน้ำประปาของหลายจังหวัด โดยน้ำประปาในโตเกียวปนเปื้อนไอโอดีน 131 เกินกว่าเกณฑ์กำหนดสำหรับเด็กเล็ก 2 เท่า มีการประกาศห้ามไม่ไห้เด็กทารกดื่มน้ำประปา

น้ำทะเลบริเวณหน้าโรงไฟฟ้าฟูกูชิมะมีรังสีสูงกว่าค่าปกติมากกว่า 1,000 เท่า

มีการตรวจพบผักปนเปื้อนรังสีและห้ามซื้อขายรวม 11 ชนิด สหรัฐฯ เป็นประเทศแรกที่สั่งห้ามนำเข้านมและผักผลไม้จากญี่ปุ่น

การฉีดน้ำทะเลเพื่อระบายความร้อนเตาปฏิกรณ์เครื่องที่ 1, 2 และ 3 ยังดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง

เจ้าหน้าที่ 3 คน ได้รับรังสีรุนแรงจากน้ำที่ซึมเข้าไปในรองเท้า เจ้าหน้าที่ 2 คนถูกส่งไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล

สัปดาห์ที่ 3 (25-31 มีนาคม 2554)ทบวง การปรมาณูระหว่างประเทศระบุว่า บริเวณ นอกรัศมีอพยพ 20 กม. (ที่หมู่บ้านอิตาเตะ จากโรงไฟฟ้าฟูกูชิมะ 40 ก.ม.) พบว่า มีการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีซีเซียม 137 ในระดับสูงมาก

เรือ บรรทุกน้ำจืดของกองทัพเรือสหรัฐเดินทางมาถึง จึงสามารถเปลี่ยนจากการใช้น้ำทะเลมาเป็นน้ำจืดในการฉีดระบายความร้อนเตา ปฏิกรณ์เครื่องที่ 1, 2 และ 3 ได้ การฉีดน้ำยังเป็นไปอย่างต่อเนื่อง เพราะระดับน้ำในถังปฏิกรณ์มักจะลดลงเป็นระยะๆ ผู้เชี่ยวชาญทางฝั่งตะวันตกวิเคราะห์ว่า น้ำปริมาณมากมายที่หายไปนั้น เป็นเพราะถังปฏิกรณ์เกิดรอยแตก ซึ่งเป็นการโต้แย้งคำชี้แจงของ Tepco ที่ยืนยันว่า ถังปฏิกรณ์ของเตาปฏิกรณ์ทั้ง 3 เครื่องไม่ได้รับความเสียหายจากการระเบิด ต่อมาได้มีการตรวจพบน้ำปนเปื้อนรังสีสูงเกินกว่าค่าปกติ 100,000 เท่าในอาคารกังหันผลิตไฟฟ้าหมายเลข 2 ซึ่งเป็นน้ำปนเปื้อนรังสีเข้มข้นที่มาจากอาคารปฏิกรณ์ นอกจากนี้ ยังมีน้ำปนเปื้อนไอโอดีน 131 รั่วไหลลงสูทะเลโดยตรง แต่เจ้าหน้าที่ไม่ทราบว่ารั่วไหลมาจากจุดไหน

5 เมษายน 2554 กลุ่มอุตสาหกรรมประมงประท้วงบริษัทเท็ปโก
สัปดาห์ที่ 4 (1-7 เมษายน 2554)
รัฐบาลญี่ปุ่นแถลงว่า โรงไฟฟ้าฟูกูชิมะอาจต้องปล่อยรังสีที่เป็นอันตรายออกสู่อากาศต่อไปอีกหลายเดือน

บริเวณ โรงไฟฟ้าเต็มไปด้วยน้ำปนเปื้อนรังสี เนื่องจากมีการฉีดน้ำหล่อเลี้ยงเตาปฏิกรณ์และบ่อเก็บเชื้อเพลิงใช้แล้วตลอด เวลา จนบริษัทเท็ปโกต้องตัดสินใจปล่อยน้ำปนเปื้อนรังสีระดับต่ำจำนวน 11,500 ตันลงสู่ทะเล เพื่อให้ภายในโรงไฟฟ้ามีที่ว่างสำหรับรองรับน้ำปนเปื้อนรังสีที่เข้มข้นสูง กว่า ท่ามกลางความวิตกกังวลของประเทศเพื่อนบ้านคือเกาหลีใต้และจีน

นายยูคิโอะ เอดาโนะ โฆษกคณะรัฐมนตรีกล่าวว่า “เราไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากการปล่อยน้ำปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสีลงสู่มหาสมุทร”

เท็ป โกแถลงว่า ตัวอย่างน้ำทะเลบริเวณใกล้ปากท่อระบายน้ำของเตาปฏิกรณ์หมายเลข 2 มีค่าสูงกว่าที่กฎหมายกำหนด 7.5 ล้านเท่า(11.50 น. วันที่ 2 เมษายน 2554)

เริ่ม มีการตรวจพบสัตว์น้ำทะเลปนเปื้อนรังสี เช่น ปลาไหลทราย ที่จับได้ในเขตจังหวัดฟูกูชิมะ ตรวจพบการปนเปื้อนรังสีสูงกว่าที่กฎหมายกำหนด 25 เท่า

ตลอด เดือนเมษายน-พฤษภาคม 2554 การแก้ไขวิกฤตการณ์นิวเคลียร์ฟูกูชิมะยังเต็มไปด้วยปัญหา และจากการแถลงของรัฐบาลญี่ปุ่น การจัดการเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่เสียหายต้องใช้เวลาอย่างน้อย 6-9 เดือน.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น