13 กุมภาพันธ์ 2556

กัมมันตภาพรังสี เข้าสู่ห่วงโซ่อาหารได้อย่างไร

(คลิ๊กที่ภาพเพื่อดูภาพขยาย)

กัมมันตภาพรังสี คือพลังงานในรูปคลื่นความถี่สูงมากที่ถูกปล่อยออกมาจากธาตุที่ไม่เสถียร มีพลังงานสูงมากและเป็นอันตรายต่อเซลล์ของสิ่งมีชีวิต 


สารกัมมันตรังสี คือธาตุที่ไม่เสถียรและมีการปล่อยพลังงานออกมาตลอดเวลาในรูปกัมมันตภาพรังสี เช่น ยูเรเนียม, พลูโตเนียม, ไอโอดีน-131, ซีเชียม-137, โคบอลต์-60 เป็นต้น (เปรียบเทียบง่ายๆ กับหลอดไฟฟ้าได้ว่า หลอดไฟฟ้าคือสารกัมมันตรังสี ส่วนแสงสว่างจากหลอดไฟก็คือกัมมันตภาพรังสี) 

สารกัมมันตรังสีจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จะมีทั้งในรูปของแข็ง ของเหลว และก๊าซ ซึ่งมักจะแพร่ออกสู่สิ่งแวดล้อมในรูปของฝุ่นที่สามารถตกลงไปในแหล่งน้ำหรือพื้นดิน ทำให้เกิดการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม ฝุ่นกัมมันตรังสียังสามารถปลิวล่องลอยไปในอากาศได้ในระยะทางไกลมาก เช่นเหตุการณ์โรงไฟฟ้าเชอร์โนบิลระเบิดที่รัสเซีย ทำให้สารกัมมันตรังสีแพร่กระจายไปปนเปื้อนพื้นที่เกือบทั่วยุโรปรวมทั้งตอนเหนือของทวีปอเมริกาด้วย

ไม่มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์โรงใดในโลกที่ไม่ปล่อยสารกัมมันตรังสีออกสู่ภายนอกโรงงานเลย แต่สารกัมมันตรังสีที่ปล่อยออกมาจะต้องอยู่ในระดับที่ไม่เกินกฎหมายกำหนด 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น